มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ผู้มีจิดเกษม
เครื่องผูกมัดเหล่านี้เปรียบเหมือนเชือกสี่เกลียว ที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่รู้จบสิ้น สัตวโลกต้องพบกับภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุด จิตจึงไม่พบกับความเกษมสำราญ มีสุขมีทุกข์คลุกเคล้ากันไป สุกๆดิบๆ จะหาสุขจริงๆนั้น ยังหาไม่พบ มีแต่หลงเพลิดเพลินไปวันๆ สภาวะของจิตเกษมจึงไม่เคยพบเจอไม่เคยรู้จัก
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - สำคัญที่ดวงจิต
เมื่อแน่ใจแล้วว่าอุบาสิกานี้รู้วาระจิตของตนจริงๆ ท่านจึงกลับมาคิดใคร่ครวญว่า "กรรมนี้หนักหนอ ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้างไม่งามบ้าง ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้ว อุบาสิกานี้จะรู้ทันเราเหมือนจับโจรได้พร้อมด้วยของกลาง อย่ากระนั้นเลย เราควรหนีไปเสียจากที่นี้จะดีกว่า" แล้วจึงลาอุบาสิกาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงแม้ว่าอุบาสิกาจะทัดทานให้อยู่ต่อก็ตาม เมื่อไปถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสถามเธอว่า "ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ"
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ปล่อยวางอย่างพระอริยะ
พระบรมศาสดาประทับยืนที่เหนือศีรษะของท่าน ตรัสให้เห็นทุกข์เห็นโทษของสังขารร่างกายนี้ว่า "กายของเธอนี้อยู่อีกไม่นาน เพราะจะปราศจากวิญญาณแล้ว หาอุปการะมิได้ อีกไม่นานต้องนอนบนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ที่ไม่มีประโยชน์"
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - พากเพียรเถิดให้เกิดบุญบารมี
พระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ได้เห็นความตั้งใจจริงของนาง จึงแผ่พระรัศมีออกไป เหมือนประทับนั่งอยู่ต่อหน้า แล้วตรัสพระธรรมเทศนาว่า "ผู้ใดไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็นอยู่ 100ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น"
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ธรรมกายต้นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์
นักปราชญ์เหล่าใด เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมากมาย มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ทำลายข่าย คือ ทิฏฐิมานะ (2)
เมื่อพระอานนทเถระได้รับอนุมัติจากสงฆ์แล้ว จึงออกเดินทางพร้อมพระภิกษุอีก 500รูป มุ่งหน้าไปยังวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ซึ่งเป็นที่พำนักของพระฉันนะ ครั้นพระฉันนะรู้ว่า พระอานนทเถระมาเยี่ยม จึงรีบเข้าไปหา ไหว้พระเถระด้วยความนอบน้อม เพราะรู้ว่าฐานะตำแหน่งทางโลกนั้น พระอานนท์เป็นพระอนุชา เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ส่วนตนเป็นเพียงข้าทาสคนรับใช้ จึงมีความยำเกรงพระอานนท์เป็นพิเศษ
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ทำลายข่าย คือ ทิฏฐิมานะ (1)
พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์และสอบถามพระฉันนะว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ เมื่อท่านยอมรับว่าจริง จึงตรัสเตือนว่า "ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอกระทำไม่เหมาะสม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ทำไมเมื่อเธอถูกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวโดยธรรม จึงทำตัวให้เป็นผู้ที่ใครๆว่ากล่าวไม่ได้
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ตัดอาลัยไปนิพพาน
แล้วเหตุการณ์สำคัญในชีวิตนางภิกษุณีผู้เป็นมารดาก็เกิดขึ้น คือ นับตั้งแต่พระกุมารได้แยกจากนางไปถึง 12ปีนั้น นางได้แต่ร้องไห้ด้วยความคิดถึงบุตร มีความทุกข์เพราะความพลัดพราก ใบหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา วันหนึ่ง ขณะที่นางกำลังเดินบิณฑบาตอยู่นั้น ได้เห็นพระกุมารกัสสปะในระหว่างทางจึงดีใจร้องเรียกลูก แล้ววิ่งเข้าไปหาแต่ได้เซล้มลง
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - ปล่อยวางหมด ก็หมดทุกข์
ชายหนุ่มเจ้าชู้คนหนึ่งได้แลเห็นพระเถรี ผู้กำลังเดินผ่านไปยังชีวกัมพวันวิหารอันน่ารื่นรมย์ ได้ถูกกามราคะครอบงำ คือ มีจิตปฏิพัทธ์ในพระเถรีขึ้นมา ได้ออกไปยืนขวางทางแล้วกล่าวคำเชื้อเชิญให้พระเถรียินดีในกามารมณ์ อนาคามีเถรีผู้ไม่มีจิตยินดีในกามารมณ์ เห็นอย่างนั้น ก็กล่าวว่า "เราทำผิดอะไร ท่านถึงมายืนขวางทางเรา ท่านเป็นคนไม่บริสุทธิ์ ไม่ควรถูกต้องหญิงนักบวชเช่นเราผู้บริสุทธิ์ด้วยสิกขา ที่พระสุคตเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - เวลาและโอกาสที่พลาดไม่ได้
ในสมัยหนึ่งมนุษย์จำนวนมากนิยม แล่นเรือไปเพื่อค้าขาย เมื่อเรือไปถึงกลางมหาสมุทรเกิดอับปางลง มนุษย์ทั้งหลายต่างล้มหายตายจาก กลายเป็นอาหารของปลาและเต่า แต่มีชายคนหนึ่งได้อาศัยแผ่นกระดาน พยายามตะเกียกตะกายแหวกว่ายมาจนถึงฝั่ง เนื่องจากว่ายน้ำเป็นเวลานานหลายวัน เสื้อผ้าขาดวิ่นไปหมด เขามองไม่เห็นอะไรพอที่จะนุ่งห่มได้ เลยเอาเชือกปอมัดพันกับใบไม้แห้งใช้ห่มแทนเสื้อผ้า พวกมนุษย์สำคัญผิดว่า บุรุษนี้น่าจะเป็นพระอรหันต์